คู่มือ การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆและที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นนั้นโดยมีหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
     1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลตำบลแสลงพัน) ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนและวิธีการชำระภาษี
     2. การเตรียมฐานข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากสำนักงานที่ดินหรือสำนักงานที่ดินสาขา  และข้อมูลที่ผู้เสียภาษีแจ้ง
เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมาใช้เป็นฐานข้อมูล
     3. ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานสำรวจ พนักงานประเมินและพนักงานเก็บภาษี เพื่อทำหน้าที่สำรวจข้อมูล
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
     
4. จัดทำประกาศ กำหนดระยะเวลาที่จะสำรวจข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป  ณ  สำนักงานเทศบาลไม่น้อยกว่า   15  วัน
     5.จัดทำบัญชีรายชื่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บัญชีรายการห้องชุด (ภ.ด.ส.3, ภ.ด.ส.4)  ปิดประกาศไว้  ณ  สำนักงาน
เทศบาล เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบ ไม่น้อยกว่า  30  วัน  ปิดประกาศภายในเดือน  พฤศจิกายน
     6. จัดส่งข้อมูล รายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้ผู้เสียภาษีแต่ละรายทราบเพื่อตรวจความถูกต้องของข้อมูล ถ้าไม้ถูก
     ต้องให้ยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วแจ้งผลให้ผู้เสียภาษีทราบภายใน  30  วัน นับแต่ผู้ได้รับคำร้องจากผู้เสียภาษี
     7. จัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภ.ด.ส.1 ) และบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด
 ( ภ.ด.ส.4 )  ปิดประกาศก่อน วันที่ 1 กุมภาพันธ์  ณ  สำนักงานเทศบาล
     8. ทำราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างและห้องชุด จากสำนักงานธนารักธ์ที่มาคำนวณมูลค่าของทรัพย์สิน   

     9. ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีให้ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี (ภ.ด.ส.7) โดยตรง หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
     10. ผู้เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือน  เมษายน  มีสิทธิผ่อนชำระภาษีได้ เงินภาษีขั้นต่ำตั้งแต่  3,000  บาทขึ้นไป

            ผ่อนชำระได้ 3 งวด ๆ ละเท่ากัน

                              งวดที่ 1 ภายในเดือน เมษายน

                              งวดที่ 2 ภายในเดือน พฤษภาคม

                              งวดที่ 3 ภายในเดือน มิถุนายน

    ทากผู้เสียภาษีไม่ชำระภาษีตามระยะเวลาที่กำหนดใช้ในการผ่อนชำระ ให้หมดสิทธิ์ชำระ และต้องเรียกเก็บเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือน ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
     11.ผู้เสียภาษีไม่ได้มาชำระภาษีภายในเดือน เมษายน ให้ถือเป็นภาษีคงค้าง ต้องชำระภาษีค้างชำระพร้อมทั้งเบี้ยปรับ

      ดังนี้

          11.1 ให้มีหนังสือแจ้งเตือนภายในเดือน พฤษภาคม เพื่อให้มาชำระพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

          11.2 ถ้าผู้เสียภาษีไม่ได้มาชำระภาษีภายในกำหนด ของหนังสือแจ้งเตือน เมื่อพ้น  90  วัน ให้ผู้บริหารท้องถิ่น

                 มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ  ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษี  แต่ต้องได้รับความ        

                เห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด

          11.3 แจ้งรายการภาษีค้างชำระให้สำนักงานที่ดินและสำนักงานที่ดินสาขาทราบภายในเดือน มิถุนายน เพื่อใช้

                   เป็นข้อมูลในการแจ้งระงับการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรม

  1. เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
    1. ผู้เสียภาษีมาชำระภาษีก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ ร้อยละ  10  ของจำนวนภาษีค้างชำระ
    2. ผู้เสียภาษีมาชำระภาษี ภายในกำหนดหนังสือแจ้งเตือนให้คิดเบี้ยปรับ ร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีค้างชำระ
    3.  ผู้เสียภาษีไม่ได้มาชำระภาษี ภายในกำหนดของหนังสือแจ้งเตือน ให้คิดเบี้ยปรับ ร้อยละ  40  ของจำนวนภาษีค้างชำระ

   เงินเพิ่ม

     1.เงินเพิ่มร้อยละ  1  ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ เศษของเดือนให้นับเป็น  1 เดือน                                      

ขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ

ที่

ประเภทขั้นตอน

รายละเอียดของขั้นตอนการบริการ

ระยะเวลาให้บริการ

ส่วนงาน / หน่วยงานที่รับผิดชอบ

หมายเหตุ

1)

การเตรียมฐานข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

  • การสำรวจข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • การจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและบัญชีรายการห้องชุด
  • การจัดทำบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • การคำนวณหามูลค่าฐานภาษีของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • การแจ้งประเมินภาษี
  • การชำระภาษี

210 วัน

กองคลัง+กองช่าง

( ระยะเวลา : 210 วันนับแต่การเตรียมฐานข้อมูลที่ดินถึงการรับชำระภาษี)

 

ระยะเวลาดำเนินการรวม 210 วัน

รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ

 

ที่

รายการเอกสารยืนยันตัวตน

หน่วยงานภาครัฐผู้ออกเอกสาร

จำนวนเอกสาร
ฉบับจริง

จำนวนเอกสาร
สำเนา

หน่วยนับเอกสาร

หมายเหตุ

1)

บัตรประจำตัวประชาชน

-

1

1

ชุด

 

2)

ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา

-

1

1

ชุด

 

3)

โฉนดที่ดินใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร

-

1

1

ชุด

 

4)

หลักฐานการประกอบกิจการพร้อมสำเนาเช่นใบทะเบียนการค้าทะเบียนพาณิชย์

-

1

1

ชุด

 

 

16. ค่าธรรมเนียม รายละเอียด ดังนี้

ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

สำหรับที่ดินที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.01-0.1% ซึ่งแบบได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

    บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

        ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี

        ที่ดินมูลค่า 50-125 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท

        ที่ดินมูลค่า 125-150 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท

        ที่ดินมูลค่า 150-550 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท

        ที่ดินมูลค่า 550-1,050 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท

        ที่ดินมูลค่า 1,050 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

    นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

        ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท

        ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท

        ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท

        ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท

        ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย

สำหรับที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย จะต้องเสียภาษีในอัตราตั้งแต่ 0.02-0.1% โดยแบ่งตามประเภทของเจ้าของที่ดิน ดังนี้

    บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

        ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี

        ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ300 บาท

        ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท

        ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

    บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

        ที่ดินมูลค่า 0-10 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี

        ที่ดินมูลค่า 10-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท

        ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท

        ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท

        ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

  

 

 บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้

        ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท

        ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท

        ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท

        ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท

ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม

ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยถูกนำมาใช้ในลักษณะออฟฟิศ สำนักงาน โรงแรม หรือแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร โดยอัตราภาษีตั้งแต่ 0.3-0.7% ดังนี้

    ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท

    ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท

    ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท

    ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท

    ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เป็นที่ดินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ โดยปล่อยให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่รกร้างว่างเปล่า จะต้องเสียภาษีที่ดินว่างเปล่าตั้งแต่ 0.3-0.7% เช่นกัน โดยคำนวณได้ ดังนี้

    ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท

    ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท

    ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท

    ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท

    ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท

 

ช่องทางการให้บริการ

งานพัฒนารายได้ กองคลัง เทศบาลตำบลแสลงพัน อำเภอวังม่วง  จังหวัดสระบุรี

เลขที่ 213 หมู่ 1 ต.แสลงพัน อ.วังม่วง จ.สระบุรี 18220

โทร. 036 730 441 ต่อ 02

ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด)
ตั้งแต่เวลา
08:30 - 16:30 น.