คู่มือ การขออนุญาตใช้เสียงตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง

การขออนุญาตใช้เสียง ตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493

การโฆษณา

การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง มี 2 ประเภท ดังนี้

1. การโฆษณาในกิจการที่ไม่เป็นไปในทำนองการค้า งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญบ้าน งาน ไหว้ครู งานมหรสพต่างๆ

ขอใบอนุญาตได้คราวละไม่ เกิน 15 วัน

ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท

2. การโฆษณาที่เป็นไปในทำนองการค้า แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

ก. การโฆษณาเคลื่อนที่โดยใช้รถประชาสัมพันธ์วิ่งตามเส้นทางต่างๆ ภายในเขตเทศบาล

สามารถขออนุญาตได้คราวละไม่เกิน 5 วัน

ค่าธรรมเนียมโฆษณาเคลื่อนที่ฉบับละ 60 บาท

ข. คือ การโฆษณาประจำที่โดยประชาสัมพันธ์ ณ ร้านหรือกิจการนั้น ๆ

สามารถขออนุญาตได้คราวละ ไม่เกิน 15 วัน

ค่าธรรมเนียมโฆษณาประจำที่ฉบับละ 75 บาท

 

ข้อห้าม

ห้ามใช้เสียงโฆษณาในระยะใกล้กว่า 100 เมตร จากบริเวณสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ดังต่อไปนี้

ก. โรงพยาบาล

ข. วัด หรือสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจ และ

ค. ทางแยกที่มีการสัญจรไปมาคับคั่งอยู่เป็นปกติ

ห้ามใช้เสียงโฆษณาในระยะใกล้กว่า 100 เมตร จากบริเวณสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ดังต่อไปนี้

ก. โรงเรียนระหว่างทำการสอน

ข. ศาลสถิตยุติธรรมในระหว่างเวลาพิจารณา

 

เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นขอรับบริการ

1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2. ใบอนุญาตให้มีเพื่อใช้ซึ่งเครื่องขยายเสียงและไมโครโฟน (ถ้ามี)

3. รายละเอียดของเครื่องขยายเสียงที่จะใช้ เช่นกำลังไฟฟ้าที่ใช้กำลังขยายเสียง

4. แผนที่แสดงที่ตั้งใช้เครื่องขยายเสียง

 

ขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการ

1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง (แบบ ฆ.ษ.1) (เวลา 10 นาที)

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานพร้อมเขียนใบอนุญาต (เวลา 10 นาที)

3. เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้มีอำนาจลงนามอนุญาตให้ทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง (แบบ ฆ.ษ.2)  (เวลา 10 นาที)

(รวมระยะเวลาดำเนินการ 30 นาที)

การปฏิบัติภายหลังที่ได้รับอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำการโฆษณาแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตนำใบอนุญาตนั้นไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ลงนามรับทราบเสียก่อน จึงจะทำการโฆษณาได้

ติดต่อขอรับบริการได้ที่

งานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดเทศบาล  เทศบาลตำบลแสลงพัน (อาคารสำนักงาน ชั้น 1 )

บทลงโทษ

  • ผู้ฝ่าฝืนมีความผิด ตาม พรบ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
  • ความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงจนทำให้ตกใจหรือเดือดร้อน ปรับสูงสุด 100 บาท
  • ความผิด พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการลดเสียงที่ก่อความรำคาญ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ (ตามมาตร 74)